วันจันทร์, มิถุนายน 06, 2554

Introduction

ในงานออกแบบนั้นสิ่งที่สำคัญคือการสื่อสาร นักออกแบบต้องการที่จะสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์ หรือว่าสื่อสารเพื่อสร้างสุนทรียภาพ และในแต่ละงานออกแบบนั้นนักออกแบบจะต้องเข้าใจโจทย์ จับประเด็นและตีความหมายของโจทย์ให้ได้ก่อนว่าโจทย์ต้องการให้ออกแบบอะไร เพราะโจทย์คือสิ่งที่นักออกแบบต้องแก้และเป็นขั้นตอนแรกของงานออกแบบเสมอ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจกับมันได้ ต่อให้เป็นงานออกแบบนั้นดูดีแค่ไหนงานออกแบบนั้นก็ยังคงเป็นงานที่ล้มเหลวอยู่ดี

MR. KITTIPHAN KRIENGYUTTAPOOM
บทสรุปการเรียนวิชาการออกแบบ 2 มิติของนักศึกษา

วันจันทร์, พฤษภาคม 12, 2551

วันศุกร์, สิงหาคม 31, 2550

Project 8 Balance

1. ให้นักศึกษาเลือกจัดองค์ประกอบในรูปแบบความสมดุล 3ใน4แบบ (ข้อ1-4) และข้อ 5 หรือ ออกแบบทั้ง 5 แบบ คือ
1. Symmetrical Balance
2. Approximate Symmetry
3. Radial Balance
4. Asymmetrical Balance
5. Asymmetrical and Unbalance
2. ใน 4 รูปแบบความสมดุลจัดองค์ประกอบมาแบบละ 10 ชิ้น ด้วย Visual Elements
ตามความเหมาะสม แล้วเลือกที่ดีที่สุดจากในทั้ง 4 แบบ แบบละ 1 ชิ้นพร้อมอธิบายโดยใช้ภาษา
ให้ถูกต้องตามบทเรียน
3. ขนาด Picture plane ไม่เกิน A5 เทคนิคและวัสดุที่ใช้ไม่กำหนด อนุญาตให้ใช้Computer ได้บ้างแต่
ไม่ทุกชิ้นงาน
•รวมแล้วมีงานออกแบบ 40 ชิ้น +อธิบาย 4 ชิ้น
ส่งงานใน Blog และติดงานในห้อง ก่อน 9.30 น. วันที่ 7 ก.ย. 2550

Balance

เมื่อได้เรียนรู้จักสิ่งที่เห็น บทเรียนต่อไปก็จะเป็นเรื่องความรู้สึก เราสามารถออกแบบงานให้เกิดความรู้สึกได้ตามที่เราต้องการโดยอาศัยหลักการ และการวางแผนที่ดี



Balance คือความสมดุล เป็น 1 ในหลักการจัดองค์ประกอบที่จะเห็นในงานออกแบบมากมาย เราสามารถรู้ได้ว่าภาพนั้นๆมีความสมดุลหรือไม่ โดยแบ่งภาพออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกันตามแกนแนวนอน แกนแนวดิ่ง และจุกศูนย์กลางของรัศมี (radial balance)



มีการแบ่งลักษณะของbalance ออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกันคือ



1.Symmetrical Balance คือความสมดุลแบบสมมาตรเป็นความสมดุลใน


แบบที่ รูปร่างที่เหมือนกันจะถูกใช้ซ้ำในตำแหน่งเดียวกันในด้านซ้ายขวา หรือ บน-ล่างเสมือนว่าทั้งสองด้านต่างเป็นเงาสะท้อนกันและกัน





2.Approximate Symmetryเป็นความสมดุลในแบบที่เกือบจะเท่ากันทุกประการมีรูปร่างที่เหมือนกันหรือคล้ายกันจะถูกใช้ซ้ำในตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกันในด้านซ้ายขวา



3.Radial Balanceเป็นการสร้างความสมดุลที่เรียกว่า “ความสมดุลแบบรัศมี” องค์ประกอบในภาพจะกระจายหรือหมุนวนออกจากจุดศูนย์กลาง



4.Asymmetrical Balance เป็นความสมดุลแบบอสมมาตร (ความสมดุลแบบสองข้างไม่เท่ากัน) ความสมดุลแบบอสมมาตรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสนใจในการออกแบบสิ่งที่ไม่เหมือนกันให้ดูน่าสนใจเท่ากัน โดยที่ไม่มีแกนการวัด แกนการมอง แต่ดูสมดุลกันได้ด้วยความรู้สึก* ไม่มีข้อกำหนด และวิธีการตายตัวในการออกแบบองค์ประกอบ

วันพุธ, สิงหาคม 29, 2550

Space

space ในงาน 2 มิติ คือความลึกหรือระยะ แบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆคือ Decorative space
และ Plastic space ซึ่งแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบย่อยคือ Shallow spaceและ Deep/ Infinite space

ซึ่ งมีวิธีการออกแบบหลายวิธี ยกตัวอย่างดังนี้
Size (ขนาด)
เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการสร้างความลวงตาเรื่องระยะความลึกเราจะมองเห็นวัตถุมีขนาดเล็กลงเมื่อมันอยู่ไกลออกไป
ความลึกชัดเจนขึ้น ถ้าShapeเดียวกันถูกใช้ด้วยขนาดต่างๆกันและจะเกิดผลน้อยลง เมื่อShapeที่ใช้นั้นมีความแตกต่างกัน


Position (ตำแหน่งอ้างอิง)
เป็นการทำให้เกิดความลึก โดยใช้ Horizon line (เส้นขอบฟ้า)เป็นจุดอ้างอิง ในการนำสายตา ให้เกิดระยะหน้า ระยะหลัง

Overlapping (การทับซ้อนกัน)
เป็นการลวงตาเพื่อให้รู้สึกถึงความสัมพันธ์กันในเชิงมิติความลึก โดยใช้การซ้อนทับพื้นที่บางส่วนของShapeต่างๆภายในภาพ เมื่อแต่ละรูปร่างบดบังกันจึงดูเสมือนว่ามีรูปร่างหนึ่งอยู่ข้างบนหรือข้างหน้ารูปร่างที่ถูกบังอยู่

Transparency (ความโปร่งใส)
ความโปร่งใส ให้รูปแบบของมิติความลึกแบบ Shallow space
รูปแบบของมิติความลึกสามารถเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์นี้เรียกกันว่า“พื้นที่หลายนัยยะ(equivocal space)”

Interpenetration (การเชื่อมผสานต่อกันของวัตถุ)
การเชื่อมผสานต่อกันของวัตถุ สามารถให้รูปแบบของมิติความลึกแบบ Shallow space และ Deep space ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของวัตถุ ขนาดและทิศทางในการจัดองค์ประกอบ

Vertical Location (การวางตำแหน่งแนวดิ่ง)
มุมมองของภาพถ่ายทางอากาศหรือมุมมองแบบตานก ( Bird’s-eye Views) หรือเป็นการจัดองค์ประกอบแบบแนวดิ่ง รู้สึกได้ถึงความลึก ซึ่งปราศจากเส้นขอบฟ้า และจุดที่ไกลที่สุดอาจเป็นด้านล่างสุดของภาพ

Sharp and diminishing detail (ความชัดเจนและการตัดทอนรายละเอียด)
การเขียนภาพโดยให้ระยะหน้า (Foreground) หรือระยะใกล้เคียงมีความชัดเจนในรายละเอียด ของ line, shape, values, texture และ color แล้วค่อยๆลดความต่างของค่าความสว่าง-มืดของวัตถุที่อยู่ในระยะไกลและทำเส้นขอบนอกของรูปร่างต่างๆให้ชัดเจนน้อยลง สีของวัตถุที่อยู่ไกล (Background) ก็ควรที่จะซีดจางลงจะทำให้งานเกิดบรรยากาศ (atmospheric) ที่แสดงความลึก

Linear Perspective (ทัศนียวิทยาของเส้น)
เป็นระบบความลึกอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานอยู่บนปรากฎการณ์สามัญของการมองเห็นคือ เส้นขนานที่วิ่งไกลออกไปจะถูกมองเห็นว่าค่อยๆบรรจบกัน ณ จุดๆหนึ่งบนเส้นจินตนาการที่เรียกว่าเส้นขอบฟ้า(horizon)หรือเส้นระดับสายตา(eye level) เช่น การมองทางรถไฟหรือถนนที่ทอดตัวไกลออกไป
สมัยเรเนส์ซองค์แนวคิดนี้จึงได้ถูกนำเสนออย่างเป็นระบบว่า เส้นขนานทุกเส้นบนระนาบทั้งหลายที่ขนานกันจะวิ่งไปบรรจบกัน ณ จุดเดียวกันบนเส้นขอบฟ้า(จุดลับสายตา-vanishing point)
One-point Perspective (ทัศนียวิทยาจุดเดียว)
แนวคิดของทัศนียวิทยาของเส้นนั้นเริ่มด้วยการวางตำแหน่งเส้นขอบฟ้า เป็น “ขอบฟ้า(horizon)” ที่สัมพันธ์กับ “ระดับสายตา(eye level)” ของศิลปิน บนเส้นนี้จะถูกวางไว้ด้วย จุดลับสายตา(vanishing points)

Two-point Perspective (ทัศนียวิทยาสองจุด)
มีลักษณะเป็นธรรมชาติและเหมือนชีวิตจริงมากกว่า มันไม่ได้มีรูปแบบเป็นการมองตรงเข้าไปในฉากเหตุการณ์ในภาพแบบทัศนียวิทยาจุดเดียว แต่เป็นการมองจากมุมมองหนึ่ง ไม่มีวัตถุใดอยู่ในระนาบขนานกับระนาบของภาพและเส้นขอบของสิ่งต่างๆจะวิ่งไปบรรจบกัน ณ จุดสองจุดบนเส้นขอบฟ้าเส้นเดียว มันจึงมีลักษณะเหมือนกับประสบการณ์การมองในชีวิตจริงของเรา

Multipoint Perspective (ทัศนียวิทยาหลายจุด)
ในบางครั้งวัตถุต่างๆจะมีชุดของจุดรวมสายตาแยกจากกัน พวกมันอาจไม่อยู่ขนานซึ่งกันและกัน แต่ถ้าพวกมันทั้งหมดอยู่ในระนาบที่ขนานกับระนาบของภาพ จุดลับสายตาทุกจุดจะยังคงอยู่บนเส้นขอบฟ้าเดียวกัน

Isometric Projection (การใช้ไอโซเมตริก)
สร้างมิติความลึกอีกรูปแบบหนึ่ง ด้วยการใช้แนวทแยงหากแต่เส้นทั้งหลายยังคงมีความขนานกัน ซึ่งถูกอ้างอิงในโลกตะวันตกในชื่อเรียกว่า ภาพไอโซเมตริค(isometric projection)”

วันอังคาร, สิงหาคม 28, 2550

Project 7 Space

ให้นักศึกษาจัดองค์ประกอบโดยมี Space เป็นโจทย์ สร้างสรรค์งานออกแบบตามวิธีการทีบรรยาย เรื่อง
Size / Position / Overlapping / Transparency

Vertical Location / Sharp and diminishing detail / Linear Perspective Isometric Projection / The Elements of art / Interpenetration
สร้างสรรค์งานขนาดไม่เกิน A5 หัวข้อละ 5 แบบ ใน 50แบบเลือกชิ้นที่ดีที่สุดออกมา 5 ชิ้นพร้อมอธิบาย รวมแล้วมีงานออกแบบ 50 ชิ้น +อธิบาย 5ชิ้น
ส่งงานใBlog และA4 ติดงานในห้อง ก่อน 9.30 น. วันที่ 31 ส.ค. 2550

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 02, 2550

visual composition

ให้นักศึกษาหา Visual composition 100 ภาพ โดยการนำมาทุกวิถีทางเช่น ถ่ายภาพ วาด ตัดแปะ ฯลฯจากสถานที่ที่กำหนดให้ที่ละ 10 ภาพ ดังนี้

1. ภายในบ้าน
2. มหาวิทยาลัย
3. Shopping Mall
4. ตามรายทางใน 1 วัน
5. Web site
6.หนังสือ
7. โทรทัศน์
8. TCDC. / หอศิลป์ / พิพิธภัณฑ์
9. ตลาดสด / ตลาดนัด
10.สวนสาธารณะ/ ไร่ / นา / สวน และธรรมชาติ


วิธีการส่ง
1.ส่งงานตามหัวข้อ 1-10 ในกระดาษขนาด A4 10 แผ่น (แผ่นละ 10 ภาพ)พร้อมอธิบายทุกภาพ
2.เลือกภาพที่ดีที่สุดจากแต่ละหัวข้อ พร้อมอธิบายเหตุผลที่เลือก (ใช้ภาษาของบทเรียนเรื่ององค์ประกอบ)
3.ส่งงานทั้งหมด 20แผ่น วันที่ 24 ส.ค. 50 โดยติดผนังห้องก่อนเวลา 9.30 น.