วันพุธ, สิงหาคม 29, 2550

Space

space ในงาน 2 มิติ คือความลึกหรือระยะ แบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆคือ Decorative space
และ Plastic space ซึ่งแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบย่อยคือ Shallow spaceและ Deep/ Infinite space

ซึ่ งมีวิธีการออกแบบหลายวิธี ยกตัวอย่างดังนี้
Size (ขนาด)
เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการสร้างความลวงตาเรื่องระยะความลึกเราจะมองเห็นวัตถุมีขนาดเล็กลงเมื่อมันอยู่ไกลออกไป
ความลึกชัดเจนขึ้น ถ้าShapeเดียวกันถูกใช้ด้วยขนาดต่างๆกันและจะเกิดผลน้อยลง เมื่อShapeที่ใช้นั้นมีความแตกต่างกัน


Position (ตำแหน่งอ้างอิง)
เป็นการทำให้เกิดความลึก โดยใช้ Horizon line (เส้นขอบฟ้า)เป็นจุดอ้างอิง ในการนำสายตา ให้เกิดระยะหน้า ระยะหลัง

Overlapping (การทับซ้อนกัน)
เป็นการลวงตาเพื่อให้รู้สึกถึงความสัมพันธ์กันในเชิงมิติความลึก โดยใช้การซ้อนทับพื้นที่บางส่วนของShapeต่างๆภายในภาพ เมื่อแต่ละรูปร่างบดบังกันจึงดูเสมือนว่ามีรูปร่างหนึ่งอยู่ข้างบนหรือข้างหน้ารูปร่างที่ถูกบังอยู่

Transparency (ความโปร่งใส)
ความโปร่งใส ให้รูปแบบของมิติความลึกแบบ Shallow space
รูปแบบของมิติความลึกสามารถเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาได้ ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์นี้เรียกกันว่า“พื้นที่หลายนัยยะ(equivocal space)”

Interpenetration (การเชื่อมผสานต่อกันของวัตถุ)
การเชื่อมผสานต่อกันของวัตถุ สามารถให้รูปแบบของมิติความลึกแบบ Shallow space และ Deep space ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของวัตถุ ขนาดและทิศทางในการจัดองค์ประกอบ

Vertical Location (การวางตำแหน่งแนวดิ่ง)
มุมมองของภาพถ่ายทางอากาศหรือมุมมองแบบตานก ( Bird’s-eye Views) หรือเป็นการจัดองค์ประกอบแบบแนวดิ่ง รู้สึกได้ถึงความลึก ซึ่งปราศจากเส้นขอบฟ้า และจุดที่ไกลที่สุดอาจเป็นด้านล่างสุดของภาพ

Sharp and diminishing detail (ความชัดเจนและการตัดทอนรายละเอียด)
การเขียนภาพโดยให้ระยะหน้า (Foreground) หรือระยะใกล้เคียงมีความชัดเจนในรายละเอียด ของ line, shape, values, texture และ color แล้วค่อยๆลดความต่างของค่าความสว่าง-มืดของวัตถุที่อยู่ในระยะไกลและทำเส้นขอบนอกของรูปร่างต่างๆให้ชัดเจนน้อยลง สีของวัตถุที่อยู่ไกล (Background) ก็ควรที่จะซีดจางลงจะทำให้งานเกิดบรรยากาศ (atmospheric) ที่แสดงความลึก

Linear Perspective (ทัศนียวิทยาของเส้น)
เป็นระบบความลึกอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานอยู่บนปรากฎการณ์สามัญของการมองเห็นคือ เส้นขนานที่วิ่งไกลออกไปจะถูกมองเห็นว่าค่อยๆบรรจบกัน ณ จุดๆหนึ่งบนเส้นจินตนาการที่เรียกว่าเส้นขอบฟ้า(horizon)หรือเส้นระดับสายตา(eye level) เช่น การมองทางรถไฟหรือถนนที่ทอดตัวไกลออกไป
สมัยเรเนส์ซองค์แนวคิดนี้จึงได้ถูกนำเสนออย่างเป็นระบบว่า เส้นขนานทุกเส้นบนระนาบทั้งหลายที่ขนานกันจะวิ่งไปบรรจบกัน ณ จุดเดียวกันบนเส้นขอบฟ้า(จุดลับสายตา-vanishing point)
One-point Perspective (ทัศนียวิทยาจุดเดียว)
แนวคิดของทัศนียวิทยาของเส้นนั้นเริ่มด้วยการวางตำแหน่งเส้นขอบฟ้า เป็น “ขอบฟ้า(horizon)” ที่สัมพันธ์กับ “ระดับสายตา(eye level)” ของศิลปิน บนเส้นนี้จะถูกวางไว้ด้วย จุดลับสายตา(vanishing points)

Two-point Perspective (ทัศนียวิทยาสองจุด)
มีลักษณะเป็นธรรมชาติและเหมือนชีวิตจริงมากกว่า มันไม่ได้มีรูปแบบเป็นการมองตรงเข้าไปในฉากเหตุการณ์ในภาพแบบทัศนียวิทยาจุดเดียว แต่เป็นการมองจากมุมมองหนึ่ง ไม่มีวัตถุใดอยู่ในระนาบขนานกับระนาบของภาพและเส้นขอบของสิ่งต่างๆจะวิ่งไปบรรจบกัน ณ จุดสองจุดบนเส้นขอบฟ้าเส้นเดียว มันจึงมีลักษณะเหมือนกับประสบการณ์การมองในชีวิตจริงของเรา

Multipoint Perspective (ทัศนียวิทยาหลายจุด)
ในบางครั้งวัตถุต่างๆจะมีชุดของจุดรวมสายตาแยกจากกัน พวกมันอาจไม่อยู่ขนานซึ่งกันและกัน แต่ถ้าพวกมันทั้งหมดอยู่ในระนาบที่ขนานกับระนาบของภาพ จุดลับสายตาทุกจุดจะยังคงอยู่บนเส้นขอบฟ้าเดียวกัน

Isometric Projection (การใช้ไอโซเมตริก)
สร้างมิติความลึกอีกรูปแบบหนึ่ง ด้วยการใช้แนวทแยงหากแต่เส้นทั้งหลายยังคงมีความขนานกัน ซึ่งถูกอ้างอิงในโลกตะวันตกในชื่อเรียกว่า ภาพไอโซเมตริค(isometric projection)”

ไม่มีความคิดเห็น: